-
ข้อมูลหมู
การเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทย แต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่ หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมากๆ ได้ มักทำอาชีพอื่นๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสีเป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีน รองลง มาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีน
ปัจจุบันการเลี้ยงหมู ก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก การเลี้ยงดู ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์ มีการศึกษา และพัฒนาอยู่ตลอด เวลา แต่เดิมหมูให้ลูกได้ปีละหนึ่งครั้ง ลูกที่ให้แต่ละครั้งก็ไม่แน่นอน บางครั้งก็น้อย บางครั้งก็มาก ครั้งใดที่ให้ลูกมาก อัตราการตายของลูกก็จะสูง ส่วนปัจจุบัน หมูสามารถให้ลูกได้ถึง ๕ ครอกใน ระยะเวลา ๒ ปี แต่ละครอกมีลูกหมูหลายตัว อัตราการเลี้ยงให้อยู่รอดก็สูง ลูกหมูหลังคลอดใช้ระยะเวลาเลี้ยงไป จนถึงน้ำหนักส่งตลาดเพียง ๕ เดือนกว่าเท่านั้น
แหล่งที่มีการเลี้ยงหมูกันมากในประเทศไทย ได้แก่ แถบบริเวณภาคกลางของประเทศ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี ชลบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา เป็นต้น หมูที่เลี้ยงทางแถบภาคกลางนี้ จะไม่มีพันธุ์พื้นเมืองเลย เป็นหมูพันธุ์ต่างประเทศทั้งหมด หมูพันธุ์ต่างประเทศที่นิยมเลี้ยงกัน ได้แก่ พันธุ์แลนด์เรซ พันธุ์ลาร์จไวต์ พันธุ์ดูร็อก และหมูพันธุ์ลูกผสมต่างๆ เป็นต้น
-
การเลือกพันธุ์หมู
จำแนกพันธุ์สุกรตามการใช้ประโยชน์
พันธุ์หมูจากต่างประเทศ และพันธุ์หมูพื้นเมืองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย
พันธุ์ลาร์จไวท์
– ถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ
– หูตั้ง ลำตัวยาว กระดูกใหญ่ โครงใหญ่ หน้าสั้น หัวใหญ่
– โตเต็มที่น้ำหนัก 200-250 กิโลกรัม
– ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง
– มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว
– เหมาะที่ใช้เป็นทั้งสายพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์พันธุ์แลนด์เรซ
– ถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์ค
– มีสีขาว หูปรก ลำตัวยาว
– มี ซี่โครงมากถึง 16-17 คู่ (สุกรปกติมีกระดูกซี่โครง 15-16 คู่)
– โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม
– ให้ลูกดกเฉลี่ย 9-10 ตัว เลี้ยงลูกเก่ง หย่านมเฉลี่ย 8-9 ตัว
– พันธุ์แลนด์เรซเหมาะที่ใช้เป็นสายแม่พันธุ์พันธุ์ดูร็อคเจอร์ซี่
– ถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกา
– หูปรกเป็นส่วนใหญ่ ลำตัวสั้นกว่าลาร์จไวท์ และแลนด์เรซ ลำตัว หนา หลังโค้ง
– โตเต็มที่ 200-250 กิโลกรัม
– ให้ลูกไม่ดกเฉลี่ย 8-9 ตัว เลี้ยงลูกไม่เก่ง หย่านมเฉลี่ย 6-7 ตัว
– มีความแข็งแรงทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศทุกชนิด
– นิยมใช้เป็นสายพ่อพันธุ์เพื่อผลิตลูกผสมที่สวยงามพันธุ์เปียแตรง
– ถิ่นกำเนิดจากประเทศเบลเยี่ยม
– ลำตัวมีสีขาวจุดดำ ลายสลับ มีรูปร่างสวยงาม กล้ามเนื้อเป็นมัดๆ แผ่นหลังกว้างเป็นปีก สะโพกเห็นเด่นชัด
– โตเต็มที่ 150-200 กิโลกรัม
– มีข้อเสีย คือ ตื่นตกใจช็อคตายง่าย และโตช้า
– นิยมใช้ผสมข้ามพันธุ์ในการผลิตสุกรขุนสุกรพันธุ์พื้นเมืองในไทย
สุกรพันธุ์ไหหลำ
– เลี้ยงตามภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย
– เป็นพันธุ์ที่ดีที่สุดในสุกรพันธุ์พื้นเมือง
– มีสีดำปนขาว ตามลำตัวจะมีสีดำ ท้องมักมีสีขาว จมูกยาว คางย้อย ไหล่กว้าง หลังแอ่น สะโพกเล็ก
– อัตราการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองอื่นๆสุกรพันธุ์ราดหรือพวง
– เลี้ยงตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้
– ขนสีดำตลอดตัว มีสีขาวปนแซมเล็กน้อย จมูกยาว ลำตัวสั้นป้อม หลังแอ่น ใบหูตั้งเล็ก ผิวหนังหยาบสุกรพันธุ์ควาย
– เลี้ยงตามภาคเหนือและภาคกลาง
– ลักษณะคล้ายสุกรไหหลำ แตกต่างกันที่พันธุ์ควายจะมีสีดำ หูใหญ่ ปรกเล็กน้อย มีรอยย่นตามตัว
– มีขนาดใหญ่ กว่าสุกรพื้นเมืองพันธุ์อื่นสุกรป่า
– เลี้ยงตามภาคต่าง ๆ ทั่วไป
– มีขนหยาบแข็ง สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเข้ม หรือสีดอกเลา หนังหนา หน้ายาว จมูกยาวและแหลมกว่าสุกรพื้นเมือง ขาเล็กและเรียว
– มีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้นแหล่งที่มาข้อมูล: หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-
การเตรียมโรงเรือน
โรงเรือนสุกรแบบทั่วไป
คอกสุกรนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก๊อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก๊อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4×3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัวชนิดของโรงเรือนสุกร
– คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว้างx ยาว x สูง)
– คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
– คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
– คอกคลอด ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
– คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม) ขนาด 1.5 x 2 เมตร สูง 0.8 เมตร
– คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิโลกรัม) ขนาด 2 x 3 เมตร สูง 1 เมตรโรงเรือนสุกรแบบหลุม
– ควรสร้างบนที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง อากาศถ่ายเทได้สะดวก
– สร้างโรงเรือนตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก
– วัสดุการก่อสร้างโรงเรือน ควรเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น ตั้งแต่โครงสร้างจนถึงหลังคา เช่น ไม้ยูคาลิปตัสสำหรับทำเสาและโครงหลังคาใช้โครงไม้ไผ่ มุงหลาคาด้วยหญ้าคา แฝก จาก หรือกระเบื้อง
– พื้นที่สร้างคอกคำนวณจาก จำนวนหมู 1 ตัวต่อพื้นที่ 1.5-2 ตารางเมตรขั้นตอนการสร้างคอกหมูหลุม
– ขุดดินออกในส่วนพื้นที่ที่จะสร้างคอก ลึก 90 เซนติเมตร
– ใช้อิฐบล็อกกั้นด้านข้างคอกเหนือขอบหลุมสูงประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อกั้นดินและฝนสาดลงในหลุม
– ใส่วัสดุรองพื้นคอกลงไปในหลุม ประกอบด้วย ขี้เลื่อยหรือแกลบ 100 ส่วน ดินส่วนที่ขุดออกหรือปุ๋ยคอก 10 ส่วน เกลือ 0.3-0.5 ส่วน รำละเอียด 1 ส่วน -
การเลี้ยงดูและให้อาหาร
การเลี้ยงดูหมู
การจัดการพ่อหมู
หมูพ่อพันธุ์
การจัดการแม่หมู
การจัดการลูกสุกรแรกคลอด – หย่านม
การจัดการหมูขุน
วัตถุดิบอาหารสัตว์
1. อาหารประเภทโปรตีน ได้มาจากพืชและสัตว์
อาหารโปรตีนจากพืชอาหารโปรตีนจากสัตว์
อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ปลายข้าว
อาหารประเภทไขมัน
อาหารประเภทแร่ธาตุและไวตามิน
การกินอาหารของหมู
-
โรคที่เกี่ยวกับหมู
โรคอหิวาต์หมู
สาเหตุของโรค
อาการ
การป้องกันและรักษา
โรคปากและเท้าเปื่อย
สาเหตุของโรค
อาการ
การป้องกันและรักษา