วัตถุดิบอาหารสัตว์ (Feedstuffs)

วัตถุดิบอาหารสัตว์ (Feedstuffs) หมายถึง สารอาหารใดๆที่ให้โภชนะ ที่สัตว์กินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์
โดยวัตถุดิบอาจได้มาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น พืช, สัตว์ หรือ อาจจะได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี เช่น กรดอะมิโน เป็นต้น
ซึ่งวัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดมีคุณค่าทาง โภชนะและข้อจำกัดในการใช้แตกต่างกันไป

1. จำแนกตามส่วนประกอบทางเคมีในอาหาร แบ่งได้ 6 ประเภท คือ

    • คาร์โบไฮเดรท เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H และ O เป็นส่วนประกอบประมาณ 3 ใน 4 ส่วน เป็นอาหารที่ให้พลังงานและความร้อน ซึ่งแบ่งตามการย่อยได้ 2 ประเภทคือ
      • Nitrogen free extract (NFE) เป็นคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ง่าย เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง เป็นต้น
      • Crude fiber เป็นคาร์โบไฮเดรทที่ย่อยได้ยาก มีส่วนประกอบของ Cellulose เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ หญ้า และ ถั่วอาหารสัตว์
    • โปรตีน เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุ C, H, O, N และธาตุอื่นๆอยู่ด้วยเช่น Fe, P เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และเป็นแหล่งของกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับสัตว์ อาหารโปรตีนแบ่งได้ 2 พวกคือ
      • โปรตีนที่ได้จากพืช เช่น ถั่วต่างๆ, ใบกระถิน เป็นต้น
      • โปรตีนที่ได้จากสัตว์ เช่น ปลาป่น, เนื้อป่น, เลือดป่น เป็นต้น
    • ไขมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรทแต่ไขมันให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรทถึง 2.25 เท่า แหล่งของอาหารไขมันได้แก่
      • ไขมันพืช เช่น เมล็ดฝ้าย, เมล็ดถั่วเหลือง,น้ำมันมะพร้าว,น้ำมันปาล์ม,น้ำมันรำข้าว เป็นต้น
      • ไขมันสัตว์ เช่น ไขวัว, ไขมันหมู เป็นต้น

    ****ไขมันใช้ผสมในอาหารสัตว์เพื่อยกระดับพลังงาน  เป็นวัตถุดิบอาหารที่จำเป็นสำหรับสุกร    ช่วยลดการเป็นฝุ่นในอาหาร  ทำให้อาหารอัดเม็ดง่าย  เพิ่มความน่ากิน  เพิ่มปริมาณกรดไขมันที่จำเป็น  แต่มีปัญหาคือทำให้อาหารหืนง่าย  และถ้าสุกรได้รับเกิน  5-7  เปอร์เซ็นต์  ของสูตรอาหารอาจทำให้ลักษณะไขมันของซากมีปัญหา

    • แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างกระดูก และส่วนต่างๆของร่างกาย แร่ธาตุที่เป็นอาหารสัตว์ได้แก่ Na, K, Ca, Mg, P, Cl, I, S, Cr, Mn, Fe, Cu, Zn ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้มาจาก เปลือกหอย, หินปูน, กระดูกป่น, เกลือ เป็นต้น
    • วิตามิน เป็นอาหารที่จำเป็นสำหรับสัตว์ ช่วยให้การทำงานของร่างกายเป็นไปอย่างสมบูรณ์ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
      • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ Vitamin B complex, C
      • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ Vitamin A, D, E และ K
    • น้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสัตว์มาก ซึ่งหากสัตว์ขาดน้ำมักจะตายก่อนสัตว์ที่อดอาหาร โดยสัตว์ได้รับน้ำ 3 ทางด้วยกันคือ
      • จากการดื่มโดยตรง, จากอาหาร และจากขบวนการเมทาบอลิซึมในร่างกาย

2. จำแนกตามจำนวนโภชนะที่ย่อยได้ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ

  • อาหารหยาบ  หมายถึง อาหารที่มีความเข้มของโภชนะอยู่ต่ำ มีเยื่อใยในปริมาณสูง ซึ่งได้แก่พืชตระกูลหญ้า และพืชตระกูลถั่วทั่วๆ ไป
    การแบ่งอาหารหยาบตามลักษณะคุณภาพของอาหาร แบ่งเป็น 3 ชนิดดังนี้

    • อาหารหยาบคุณภาพต่ำ (โปรตีนไม่เกิน 5%) ได้แก่ ฟางข้าว หญ้าหลังการเก็บเมล็ด ยอดอ้อย ต้นข้าวโพดหวาน และหญ้าที่มีอายุการตัดเกิน 8 สัปดาห์ขึ้นไป
    • อาหารหยาบคุณภาพปานกลาง (โปรตีน 5-7%) ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆที่อายุการตัดไม่เกิน 8 สัปดาห์
    • อาหารหยาบคุณภาพดี (โปรตีน 10%ขึ้นไป) ได้แก่ หญ้าชนิดต่างๆที่อายุการตัดไม่เกิน 6 สัปดาห์, เปลือกและไหมข้าวโพด และ ถั่วอาหารสัตว์

    การแบ่งอาหารหยาบตามลักษณะของอาหารที่ให้แก่สัตว์

    • อาหารหยาบสด (green roughage)เป็นพืชที่มีความชื้นสูงประมาณ 70-85% ได้แก่ พืชที่ตัดสดมาให้สัตว์กิน (soilage) และพืชอาหารสัตว์ในทุ่งที่สัตว์เข้าไปแทะเล็ม (pasture) อาหารหยาบสดประกอบด้วย
      • พืชตระกูลหญ้า เช่น หญ้ากินนี, หญ้ารูซี่, หญ้าขน, หญ้าเนเปียร์ ฯลฯ
      • พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วฮามาต้า, ถั่วคาวาลเคด, ถั่วเซนโตร ฯลฯ
      • พืชชนิดอื่นๆ เช่น ผักตบชวา, ต้นข้าวโพด, ต้นข้าวฟ่าง,ยอดอ้อย ฯลฯ
    • อาหารหยาบแห้ง (dry roughage)เป็นพืชอาหารสัตว์ที่ผ่านการลดความชื้น เช่น การตากแดด หรือ การอบความร้อนให้เหลือความชื้นไม่เกิน 15% วัตถุประสงค์คือเพื่อเก็บถนอมอาหารไว้ในยามขาดแคลน เช่น หญ้าแห้ง, ถั่วแห้ง, ฟางข้าว ,เปลือกหรือฟักข้าวโพด เป็นต้น
    • อาหารหยาบหมัก (ensile roughage) เป็นพืชอาหารสัตว์ที่นำเข้าสู่กระบวนการหมักในหลุมสภาพไร้อากาศ ซึ่งขบวนการหมักจะเสร็จสมบูรณ์ที่อายุการหมัก 21 วัน และจะมีความชื้นประมาณ 70-75%, pH ประมาณ 4.2
  • อาหารข้น หมายถึง อาหารที่มีความเข้มข้นของโภชนะอยู่สูง มีเปอร์เซ็นต์เยื่อใยอยู่ในปริมาณที่ต่ำ เมื่อสัตว์กินเข้าไปสามารถย่อยได้มาก เมื่อยึดเอาความ แตกตางของคุณค่าทางโภชนะเปนหลักแลว จะจําแนกประเภทของวัตถุดิบอาหารสัตวที่เป็นอาหารข้นออกไดเปน 4 ประเภท

    1. วัตถุดิบประเภทแปงและพลังงานสูง (เยื่อใย <18% CF, โปรตีน <20% CP, TDN >70%) วัตถุดิบประเภทนี้เปนวัตถุดิบทที่ให้พลังงานในระดับสูง พลังงานที่ได้จากวัตถุดิบเหล่านี้จะอยูในรูปของคารโบไฮเดรต ที่ใชประโยชนงาย เชน แปงและน้ําตาล หรืออยูในรูปของไขมันซึ่งใหพลังงานสูง วัตถุดิบประเภทนี้มีโปรตีนและเยื่อใยเปน สวนประกอบอยูในระดับต่ํา วัตถุดิบประเภทนี้สวนใหญ ได้แก่ ธัญพืชและผลิตผลพลอยไดของธัญพืช เชน ปลายขาว รํา นอกจากนี้ก็มีมันสําปะหลัง กากน้ําตาล ไขมันและน้ำมัน

    2. วัตถุดิบประเภทที่ใหโปรตีนสูง (เยื่อใย <18% CF, โปรตีน >20% CP, TDN <70%) เปนวัตถุดิบที่ใหโปรตีนในระดับสูง (สูงกวารอยละ 20) และสวนใหญเปนโปรตีนที่มีคุณภาพดี มักจะมีระดับกรดอะมิโน ไลซีน เมทไธโอนีน ทรีโอนีนสูง การใชวัตถุดิบประเภทนี้ผสมกับวัตถุดิบประเภทแปงจะชวยทําใหทั้งระดับโปรตีนและระดับกรดอะมิโนที่จําเปนตองมีในอาหารชนิดตาง ๆ ของอาหารผสมสูงขึ้นจนเพียงพอกับความตองการของสัตว วัตถุดิบประเภทที่ใหโปรตีนสูงนี้ แบงออกไดเปน 3 กลุมตามแหลงที่มา ดังนี้

    • วัตถุดิบประเภทโปรตีนสูงจากพืช สวนใหญเปนพวกเมล็ดถั่วและพืชน้ำมันตาง ๆ ตลอดจนผลพลอยไดจากการ
      สกัดน้ํามันของเมล็ดถั่วและพืชน้ำมันเหลานั้น เชน ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ถั่วลิสง กากถั่วลิสง ถั่วดํา กากงา กากเมล็ดฝาย ฯลฯ
    • วัตถุดิบประเภทโปรตีนสูงจากสัตว์ เปนวัตถุดิบที่ไดจากสัตว์หรือผลิตผลพลอยไดจากโรงงานฆาสัตว์ หรือ
      โรงงานผลิตเนื้อกระป๋อง รวมทั้งนมและผลิตภัณฑนม เชน ปลาปน เนื้อปน เนื้อและกระดูกปน เลือดปน หางนมผง แกลบ
      กุง โดยเฉลี่ยทั่วไปแล้ววัตถุดิบกลุมนี้จะมีระดับโปรตีนและคุณภาพโปรตีนดีกวาวัตถุดิบประเภทโปรตีนสูงจากพืช เพราะมี
      กรดอะมิโน ไลซีน เมทไธโอนีน และทริปโตเฟนสูง เปนแหลงที่ดีของวิตามินบีตาง ๆ โดยเฉพาะอยางยิ่งวิตามินบี 12 ซึ่ง
      ไมมีในวัตถุดิบจากพืช
    • สารประกอบไนโตรเจนที่ไมใชโปรตีน เปนวัตถุดิบที่มีไนโตรเจนอยู่ในรูปอื่นที่ไมใชโปรตีนหรือไม่อยู่ในรูปโพลีเปปไทด แตสัตว์สามารถนำไปใชประโยชน์ในการสร้างโปรตีนของรางกายไดไมวาจะโดยทางตรงหรือทางออม วัตถุดิบเหลานี้ไดแก ยูเรีย เกลือแอมโมเนียตาง ๆ และกรดอะมิโนสังเคราะหตาง ๆ

    3. วัตถุดิบประเภทเสริมแรธาต การผสมอาหารสัตวมักจะมีการเสริมแรธาตุตาง ๆ ลงไปในอาหารในรูปของหัวแรธาตุประกอบดวยแรธาตุชนิดตาง ๆ ซึ่งสวนใหญสัตวตองการในปริมาณน้อย ยกเวนธาตุแคลเซยมและฟอสฟอรัสซึ่งสัตว์ตองการในปริมาณมากเนื่องจากแรธาตุ ทั้งสองนี้ทําหน้าที่เปนสิ่งประกอบของกระดูกในรางกาย วัตถุดิบทที่ใช้เปนแหลงใหธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสในอาหารสัตว์นั้น แบงออกไดเปน 2 กลุม คือ
    (1) วัตถุดิบที่ให้ธาตุแคลเซียมเพียงอยางเดียวไดแก เปลือกหอยปน และหินปูนหรือหินฝุ่น
    (2) วัตถุดิบให้ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส ไดแก ไคแคลเซียมฟอสเฟตและกระดูกป่น

    4. วัตถุดิบประเภทเสริมวิตามิน วัตถุดิบที่ใช้กันอยูทั่วไปมักจะมีวิตามินชนิดต่างๆ อยูแลว แตอาจมีวิตามินบางชนิดไมเพียงพอกับความตองการของสัตว หรือมีอยู่ในสภาพที่สัตว์ไมสามารถใชประโยชนไดอยางเต็มที่ ในทางปฏิบัติจึงมักเสริมวิตามินชนิดนั้น ๆ ในปริมาณตามความตองการของสัตว วิตามินที่แนะนาใหเสริมลงในอาหารไดแก วิตามินเอ ดี อี เค และวิตามินบี อีก 7 ชนิด คือ ไธอามีน ไนอาซิน ไรโบฟลาวิน กรดแพนโทธีนิก ไบโอติน โคลีนและบี 12 วัตถุดิบที่จัดเป็นประเภทเสริมวิตามิน ไดแก น้ํามันตับปลา ซึ่งเปนแหลงของวิตามินเอ ดี อี นอกจากนี้ก็มีวิตามิน สังเคราะห์ชนิดตาง ๆ ทั้งที่เปนวิตามินที่ละลายไดในน้ำและวิตามินที่ละลายไดในไขมัน

3. สารเสริมประสิทธิภาพ

  • สารเสริม (feed additives) เปนวัตถุดิบที่ไม่ให้โภชนะ แตเติมลงไปในอาหารสัตวเพื่อช่วยให้สัตวกินอาหารได้ในปริมาณที่มากขึ้น มีการยอยและการดูดซึม ตลอดจนการใชประโยชนของสารอาหารเหลานั้นในร่างกายไดอยางมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะทําใหสัตวมีสุขภาพ มีการเจริญเติบโตและมีประสิทธภาพการใชอาหารดีขึ้น สารเสริมจําแนกออกไดเปน 3 กลุมใหญ ๆ คือ

    • 1. สารยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย เปนสารที่มีฤทธิ์ในการทําลายหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย โดยเฉพาะอยางยิ่งแบคทีเรียที่คอยแยง โภชนะในทางเดินอาหารของสัตว
      • ชวยเรงการทวีจํานวนจุลินทรียที่เปนประโยชนแกสัตวดวย
      • ชวยเพิ่มการดูดซึมโภชนะในทางเดินอาหาร ทําใหสัตว์สามารถใชประโยชนจากอาหารได้มากขึ้น
      • ช่วยปองกันโรคบางอยางที่อาจเกิดขึ้นกับสัตวดวย

      ***สารเหลานี้เมื่อใชในระดับต่ํา จะชวยกระตุนการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของสัตว ทั้งนี้ สวนใหญนิยมใชสารยับยั้งการเจริญของจุลินทรียผสมในอาหารสัตวกระเพาะเดี่ยว สวนการผสมในอาหารสัตวเคี้ยวเอื้องนั้นมักจะใชในอาหารลูกสัตวกอนมีการเคี้ยวเอื้อง และในอาหารโคเนื้อ
      ***อยางไรก็ตามการใช้สารประเภทนี้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพื่อปองกันโรคนั้นมักจะไดผลดีในสัตว์ที่ออนแอหรือสัตวที่อยู่ในสภาวะเครียด และสัตว์ที่อยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโต
      สารยับยั้งการเจริญของจุลินทรียนี้มี 2 ประเภท คือ

      • สารปฏิชีวนะ (Antibiotics) เปนสารที่สร้างขึ้นโดยจุลินทรียบางชนิด มีคุณสมบัติในการตอต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยทั่วไปแลวจะผสมสารปฏิชีวนะในอาหารใหสัตวกินเพื่อชวยลดโอกาสที่สัตวจะแสดงอาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ
      • สารเคมโมเธอราพิวติก (Chemotherapeutic agents) เปนสารประกอบอนินทรียหรือสารประกอบอินทรียซึ่งมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรียแตมิไดสรางขึ้นโดยจุลินทรียที่มีชีวิต
    • 2. ฮอรโมนและสารที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมน สารเสริมในกลุ่มนี้จะรวมถึงฮอรโมนธรรมชาติฮอรโมนสังเคราะห และสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอรโมนคือมีผลตอรางกายสัตว์ เช่น เดียวกับฮอรโมน สารเสริมเหล่านี้ที่ผลิตขายในทองตลาดมีหลายชนิด
    • 3. สารเสริมเพื่อจุดประสงคอื่น สารเสริมในกลุ่มนี้มีหลายชนิด แตละชนิดจะใหผลกับสัตวแตกตางกัน เชน ยาถายพยาธิ ยากันเชื้อรา สารปรุงแตงกลิ่นหรือรส
ส่งเสริมเกษตร (songsermkased)
  • 772/5-6 ถ.แจ้งสนิท(บ้านไผ่-บรบือ) ต.ในเมือง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 40110
  • 043-306244 , แฟกซ์ 043-306245