• ข้อมูลเรื่องไก่

    ไก่ไข่ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจ เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี  ในประเทศไทยไข่ไก่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วประเทศ การให้ความสำคัญในการเลี้ยงไก่ไข่จึงถือเป็นหัวใจหลักในการสร้างความสมดุลทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนในประเทศ

    การเลี้ยงไก่ไข่เกษตรกรต้องใช้ความขยันและอดทนในการเลี้ยงดูเนื่องจากไก่ไข่ต้องอาศัยระยะเวลาในการเลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนถึงไก่ฟักไข่ได้ โดยผู้เลี้ยงต้องดูแลรักษาโรงเรือนทุกวันสังเกตกรณีไก่เป็นโรคต้องจับแยกทันที เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดโรคระบาดซึ่งอาจจะถึงขั้นล้มเลิกกิจการ

    แหล่งที่มาข้อมูล: การเลี้ยงไก่ไข่.com

  • การเลือกพันธุ์

    สายพันธุ์ไก่ไข่และไก่เนื้อที่นิยมเลี้ยง

    ไก่ไข่สายพันธุ์แท้
    ไก่พันธุ์เล็กฮอร์นขาวหงอนจักร (Single comb white Leghorn)

    ลักษณะประจำพันธุ์
    – มีขนาดเล็กขนสีขาว ให้ไข่เร็ว ให้ไข่ดก ไข่เปลือกสีขาวมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารค่อนข้างสูง
    เพราะมีขนาดเล็ก ทนร้อนได้ดี

    ลักษณะการให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจ

    อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก

    4-5

    เดือน

    ผลผลิตไข่

    300

    ฟอง/ปี

    น้ำหนักโตเต็มที่เพศผู้

    2.2-2.9

    กก.

    น้ำหนักโตเต็มที่เพศเมีย

    1.8-2.2

    กก.

    honkhao_2

    ไก่พันธุ์กึ่งเนื้อกึ่งไข่
    ไก่พันธุ์โรดไอส์แลนด์เรด (Rhode Island Red)

    ลักษณะประจำพันธุ์
    –  มีรูปร่างค่อนข้างยาวและลึก ยาวขนสีน้ำตาลแกมแดง ผิวหนังและแข้งสีเหลือง แผ่นหูมีสีแดง เปลือกไข่สีน้ำตาล เชื่อง แข็งแรง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี

    ลักษณะการให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจ

    อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก

    142-190

    วัน

    ผลผลิตไข่

    199-241

    ฟอง/ปี

    น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก

    1,665-2,009

    กรัม

    น้ำหนักไข่

    48-62

    กรัม

    rhodeislandred_2

    ไก่พันธุ์บาร์พลีมัทรอค (Barred Plymouth Rock)
    ลักษณะประจำพันธุ์
    – มีขนลำตัวสีลายดำขาวทั้งตัว แข้ง ปาก สีเหลือง ใบหน้าสีแดง หงอนจักร ผิวหนังสีเหลือง ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาล

    ลักษณะการให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจ

    อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก

    142-190

    วัน

    ผลผลิตไข่

    199-241

    ฟอง/ปี

    น้ำหนักตัวเมื่อให้ไข่ฟองแรก

    1,665-2,009

    กรัม

    น้ำหนักไข่

    48-62

    กรัม

    ไก่เนื้อพันธุ์แท้
    ไก่พันธุ์พลีมัทร๊อคขาว (White Plymouth Rock)

    ลักษณะประจำพันธุ์
    – มีหงอกจักร ผิวหนังสีเหลือง ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาล ขนสีขาว มีการเจริญเติบโตเร็ว และอัตราแลกเนื้อดีมาก

     

    ไก่พันธุ์คอร์นิช (Cornish)
    ลักษณะประจำพันธุ์
    – มีขนสีขาว หงอนถั่ว (Pea comb) ผิวหนังสีเหลือง เปลือกไข่สีน้ำตาล ตัวโต ขนสั้น เนื้ออกมาก ลำตัวกว้าง  อกกว้าง กล้ามเนื้อเต็ม ผิวหนังมีสีเหลือง จัดเป็นพวกไก่เนื้อ

    ลักษณะการให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจ

    อายุเมื่อให้ไข่ฟองแรก

    4-6

    เดือน

    ผลผลิตไข่

    150

    ฟอง/ปี

    น้ำหนักโตเต็มที่เพศผู้

    4.4

    กก.

    น้ำหนักโตเต็มที่เพศเมีย

    3.3

    กก.

    whitepre__3
    cornish-hen_1

    ไก่พันธุ์นิวแฮมเชียร์ (New Hampshire)
    ลักษณะประจำพันธุ์
    – ขนสีน้ำตาลอ่อน ผิวหนังสีเหลือง หงอนจักร เปลือกไข่สีน้ำตาล

    ไก่พันธุ์ลูกผสม (Hybrid breed)
    เป็นไก่ที่เกิดจากการผสมระหว่างไก่พันธุ์แท้ตั้งแต่ 2 สายพันธุ์ขึ้นไป เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลให้สูงขึ้น โดยการรวบรวบเอาลักษณะต่างๆ ที่สำคัญของไก่สายพันธุ์แท้หลายๆพันธุ์เข้าด้วยกัน

    new_hampshire_1

    1. สายพันธุ์ไก่ไข่
    เป็นไก่ที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างไก่พันธุ์แท้ 2 พันธุ์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ได้ไก่ที่ให้ไก่ดก เพื่อเป็นการผลิตไข่ในราคาที่ถูกที่สุด ไก่ไข่ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ ไก่ไข่ลูกผสมที่ให้ไข่เปลือกสีน้ำตาล เช่น พันธุ์เอชแอนด์เอ็น พันธุ์ดีคาร์บ พันธุ์ไฮเซก พันธุ์ฮับบาร์ด และพันธุ์ อิซาบราว์น เป็นต้น

    2. สายพันธุ์ไก่เนื้อ
    ปัจจุบันไก่เนื้อที่เลี้ยงเพื่อการค้าในประเทศไทยเป็นไก่เนื้อลูกผสมทั้งหมด ไก่เนื้อลูกผสมที่มีขายมีชื่อทางการค้ามากมายขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตไก่แต่ละพันธุ์ เช่น พันธุ์อาร์เบอร์เอเคอร์ (Arbor   Acres) พันธุ์รอส (Ross) พันธุ์คอบบ์ (Cobb) และพันธุ์ฮับบาร์ด (Hubbard) เป็นต้น

    แหล่งที่มาข้อมูล: พันธุ์ไก่

     

  • โรงเรือนเลี้ยงไก่

    ลักษณะของโรงเรือนที่ดี

    • สามารถที่จะป้องกัน แดด ฝน และลมกรรโชก ซึ่งอาจจะพัดพาเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อไก่ภายในโรงเรือนได้
    • สามารถป้องกันอันตรายจากสัตว์ภายนอกได้ เช่น นก หนู แมว งู เป็นต้น
    • โรงเรือนที่ดีต้องมีการดูแลรักษาอยู่เสมอ ฉะนั้นการสร้างโรงเรือนจำเป็นอย่างมากที่จะออกแบบให้สามารถรักษาความสะอาดได้ง่าย
    • บริเวณปลูกสร้างโรงเรือนไก่ควรอยู่ห่างจากที่พักอาศัย เพราะมูลไก่อาจส่งกลิ่นเหม็น
    • สถานที่ปลูกสร้างควรเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง เพื่อป้องกันความเสียหายจากการถูกน้ำท่วม
    • ประหยัดค่าใช้จ่าย โรงเรือนอาจจะสร้างจากวัสดุก่อสร้างที่มีอยู่แล้วตามท้องถิ่น และซื้อเพิ่มเฉพาะในส่วนที่จำเป็น
    • โรงเรือนควรมีการออกแบบระบบน้ำ ไฟ และอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงไก่

    ลักษณะของโรงเรือนเลี้ยงไก่

    homehen

    1. แบบเพิงมาแหงน เป็นรูปแบบของโรงเรือนที่สร้างง่ายที่สุด ใช้ทุนไม่มาก
    2. แบบหน้าจั่ว การสร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่วจะทำยากกว่าแบบเพิงหมาแหงน การใช้วัสดุอุปกรณ์อาจหาได้ยากตามท้องถิ่น จึงต้องมีการสั่งวัสดุอุปกรณ์เข้ามาเพิ่มในการก่อสร้าง
    3. แบบจั่วสองชั้น การสร้างโรงเรือนแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่า แบบเพิงมาแหงนและแบบหน้าจั่วธรรมดา และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแพงกว่าเนื่องจากต้องใช้วัสดุมากกว่า
    4. แบบหน้าจั่วสองชั้นกลาย การสร้างโรงเรือนในลัษณะนี้มีความคงทนแข็งแรง กันแดด กันฝนได้ดีกว่าแบบเพิงหมาแหงนและแบบจั่วธรรมดา
    5. แบบเพิงหมาแหงนกลาย การสร้างโรงเรือนลักษณะนี้มีคุณสมบัติดีกว่าทั้งแบบหน้าจั่วและเพิงหมาแหงน เนื่องจากสามารถที่จะกันแดด กันฝน และ ระบายความร้อนภายในโรงเรือนได้ดี

  • สารอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่

    สารอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่
    1. โปรตีน เป็นสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และช่วยในการสร้างและซ่อมแซมรักษาส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยปกติแล้วอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่จะประกอบด้วยโปรตีนประมาณ 13-19% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของไก่
    2. คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล มีหน้าที่ให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น ช่วยให้ไก่อ้วน และการให้ผลผลิต เช่น ไข่ ฯลฯ คาร์โบไฮเดรตถือเป็นอาหารหลัก เพราะเป็นส่วนประกอบในสูตรอาหารไก่ไข่ประมาณ 38-61% ขึ้นอยู่กับอายุไก่
    3. น้ำ ร่างกายไก่มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 60-70% ลูกไก่อายุ 1 วัน มีน้ำเป็นองค์ประกอบ 85% และจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น น้ำมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น ช่วยในการย่อย การดูดซึม การรักษาระดับความร้อนปกติในร่างกาย น้ำนับเป็นสารอาหารที่จำเป็นและมีความสำคัญที่สุด เพราะถ้าไก่ขาดน้ำจะทำให้ไก่ไม่อยากกินอาหารและอาจถึงตายได้
    4. ไขมัน เป็นแหล่งให้พลังงานแก่ร่างกายเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรต แต่ให้พลังงานมากกว่า 2.5 เท่า และยังให้กรดไขมันบางชนิดที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ให้ความอบอุ่น ทำให้อ้วนและช่วยเพิ่มความน่ากินของอาหาร ส่วนมากจะได้จากไขมันสัตว์และน้ำมันพืช

    5. วิตามิน ช่วยสร้างความแข็งแรงและความกระปรี้กระเปร่าแก่ร่างกาย สร้างความต้านทานโรค และบำรุงระบบประสาท แต่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่ขาดไม่ได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามคุณสมบัติในการละลาย คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค และวิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี ซี
    6. แร่ธาตุ ช่วยในการสร้างโครงกระดูก สร้างความเจริญเติบโต สร้างเลือด สร้างเปลือกไข่ และอื่นๆ แร่ธาตุที่สำคัญได้แก่ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โซเดียม คลอรีน เหล็ก กำมะถัน ไอโอดีน ทองแดง โคบอลต์ แมงกานีส และสังกะสี

  • การให้อาหารไก่ไข่

    การให้อาหารในแต่ละรุ่นของไก่ไข่

    ไก่ไข่เล็กและไก่ไข่รุ่น

    • การเลี้ยงลูกไก่ในระยะแรกผู้เลี้ยงควรหมั่นดูแลเอาใจใส่และเติมอาหารในรางให้ลูกไก่มีกินได้ตลอดเวลาเพราะถ้าลูกไก่ ได้รับ อาหารไม่พอจะทำให้อ่อนแอและโตช้า การให้อาหารลูกไก่ในช่วง 2-3 วันแรกควรใช้วิธีโรยอาหารบนกระดาษหรือถาดใต้เครื่องกก เพื่อช่วยให้ลูกไก่กินอาหารได้เร็วขึ้น

    ไก่ไข่สาว

    • การให้อาหารแก่ไก่ไข่สาวนั้น ไม่ควรให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ควรมีการจำกัดอาหารที่ให้โดยเริ่มเมื่อไก่อายุได้ 12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพความสมบูรณ์ของไก่ เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวไก่ให้มีขนาดตามสายพันธุ์ที่บริษัท ผู้ผลิตไก่แนะนำ ไก่รุ่นก่อนไข่ที่ปล่อยให้อ้วนและมีน้ำหนักตัวมากเกินไปจะให้ไข่เร็วแต่ให้ไข่ไม่ทน ข้อควรระวังในการจำกัดอาหารคือต้องจัดรางอาหารให้มีเพียงพอให้ไก่กินทุกวัน และพยายามกระจายอาหารให้ทั่วถึงภายในเวลาอันรวดเร็วเพื่อให้ไก่ได้กินอาหารเท่าๆ กันและมีขนาดสม่ำเสมอกัน

    ไก่ไข่ระยะให้ไข่
    ปริมาณการกินอาหารของไก่ไข่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อาทิ อัตราการไข่ น้ำหนักตัวไก่และอุณหภูมิแวดล้อม เป็นต้น เกษตรกรอาจคิดคำนวณปริมาณอาหารที่ให้กินในแต่ละวันดังนี้

    • ให้อาหารสำหรับการดำรงชีพ วันละ 63 กรัม สำหรับตัวไก่ไข่ที่มีน้ำหนักตัว 2 กก. และเลี้ยงแบบปล่อยพื้นคอกภายในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 25 ํC
    • ให้อาหารเพิ่มวันละ 7 กรัม สำหรับอัตราการไข่ที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 10% โดยเริ่มจากอัตราการไข่ 0%
    • ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.2 กรัม สำหรับน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น/ลดลง ทุกๆ 50 กรัม จากน้ำหนัก 2 กก.
    • ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1.4 กรัม เมื่ออุณหภูมิลดลง/สูงขึ้น ทุกๆ 1 ํC จากอุณหภูมิ 25 ํC
    • ให้อาหารลดลง วันละ 5 กรัม ถ้าเป็นการเลี้ยงบนกรงตับ
    • ให้อาหารเพิ่มขึ้น/ลดลง วันละ 1 กรัม สำหรับระดับพลังงานในอาหารที่ลดลง/เพิ่มขึ้น ทุกๆ 50 กิโลแคลอรี่/กก. จากระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ 2
    • 750 กิโลแคลอรี่/กก. ในสูตรอาหาร
  • โรคที่เกี่ยวกับไก่

    โรคนิวคาสเซิล (Newcastle Disease)

    สาเหตุ
    – เกิดจากเชื้อไวรัส มีระยะฟักตัว 5-6 วัน ระบาดโดยทางน้ำ อาหาร และทางอากาศ

    อาการ
    – ไก่เล็กจะไอหรือจาม อ้าปากหายใจ ปีกตก หงอย ซึม คอบิด หมุนตัว ตัวสั่น ชักกระตุก ไก่เดินหงายคอ เดินเป็นวงกลม ขาเป็นอัมพาตข้างเดียวหรือสองข้างและตาย ไก่ใหญ่จะไอ มีเสียงครางในคอ ไข่ลด และเปลือกอ่อน เบื่ออาหาร หงอย ซึม ระบบประสาทและการทรงตัวเสีย คอบิดเบี้ยว ปีกตก แต่ไม่รุนแรงนัก ท้องเดิน อุจจาระเหลวและมักมีสีเขียว ทำให้ไก่อ่อนเพลีย เสียน้ำมากและตาย

    การรักษา
    – ไม่มี  หากพบไก่ป่วยควรทำลายโดยการฝัง หรือเผาเสีย ห้ามนำเนื้อไก่มากิน เพราะโรคนี้ติดต่อถึงคนได้

    การป้องกัน ฉีดวัคซีนให้กับไก่ดังนี้
    ก.  วัคซีนสะเตรนเอฟ  ใช้หยอดจมูกหรือตาของลูกไก่ตั้งแต่ 1-5 วัน และควรหยอดจมูกซ้ำ เมื่อลูกไก่อายุได้ 28 วัน
    ข.  วัคซีนสะเตรน เอ็ม. พี. ใช้กับไก่อายุ 3 เดือน ขึ้นไปโดยใช้เข็มจุ่มวัคซีนแทงที่ผนังปีกด้านใน วัคซีนชนิดนี้ให้ความคุ้มโรคได้ 1 ปี

    โรคฝีดาษไก่

    สาเหตุ
    – เกิดจากเชื้อไวรัส มีที่สำคัญ 4 ชนิดคือ เชื้อโรคฝีดาษไก่ นกพิราบ ไก่งวง และนกคีรีบูน โรคนี้มีระยะฟักตัว 4-14 วันมียุงเป็นพาหนะนำโรคที่สำคัญมาก

    อาการ
    – ไก่ที่เป็นโรคนี้จะแสดงอาการมีจุดสีเทาพองตามบริเวณใบหน้า หงอน เหนียง และผิวหนัง และเมื่อจุดพองขยายตัวและแตกออกเป็นสะเก็ดลูกไก่จะหงอยซึม ไม่กินอาหารและตายในที่สุด

    การรักษา
    – แกะสะเก็ดฝีดาษออก แต้มแผลด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน หรือเกลือเงิน
    – หาวีไล่ยุงและพาหะอื่น ๆ

    การป้องกัน
    – ทำวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษไก่  เมื่อไก่มีอายุตั้งแต่ 1-4 สัปดาห์  โดยใช้เหล็กแหลมจุ่มวัคซีนแทงที่ผนังปีกด้านในอีก 7-10 วัน  ถ้าพบว่ามีตุ่มขึ้นที่รอยแทงก็แสดงว่าวัคซีนนี้ใช้ได้  ไก่ที่ทำวัคซีนแล้วจะมีภูมิคุ้มโรคไปตลอดชีวิต

    โรคอหิวาต์ไก่

    สาเหตุ
    – เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่มีระยะฟักตัว 2-4 วัน

    อาการ
    – ไก่ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการหงอย ซึม เบื่ออาหาร กระหายน้ำจัด ท้องร่วง อุจจาระมีสีเหลือง เหนียงมีสีคล้ำกว่าปกติ ถ้าไก่เป็นโรคนี้อย่างร้ายแรงไก่อาจตายโดยไม่แสดงอาการป่วยให้เห็น

    การรักษา
    – ใช้ยาจำพวกซัลฟาและยาปฏิชีวนะ ในระยะที่สัตว์เริ่มเป็นโรค

    การป้องกัน
    – ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอหิวาต์ไก่ ทุก ๆ 6 เดือน โดยฉีดวัคซีนเข้าใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อ (โคนขา หน้าอก) เมื่อไก่อายุได้ 1 เดือนขึ้นไป เมื่อพบไก่เป็นโรคต้องรีบแยกตัวอื่น ๆ ไปเลี้ยงต่างหากแล้วทำความสะอาดเล้าด้วยยาฆ่าเชื้อ เอาสัตว์ตายไปเผาเสีย

ส่งเสริมเกษตร (songsermkased)
  • 772/5-6 ถ.แจ้งสนิท(บ้านไผ่-บรบือ) ต.ในเมือง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 40110
  • 043-306244 , แฟกซ์ 043-306245