• ข้อมูลเรื่องข้าว

          ข้าว เป็นพืชเศรฐกิจของไทย เพราะข้าวเป็นอาหารหลัก คนไทยกลุ่มใหญ่มีอาชีพทำนา
    การปลูกข้าวในไทยสามรถปลูกได้ทุกภูมิภาค แต่จะสามรถปลูกได้ผลผลิตมากน้อยแค่ไหนนั้น
    ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพดิน พันธุ์ข้าว เป็นต้น

          การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว
    การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ
    ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอและเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี ส่วนในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอก็จะสามารถทำนาได้ตลอดปี
    ในแต่ล่ะปีมี 2 ครั้ง คือ นาปี และนาปรัง ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี ถ้าท้องถิ่นนั้นๆมีน้ำเพียงพอ

    การทำนาในอดีต

    การทำนาของชาวบ้านในอดีตจะทำแบบธรรมชาติ ปีล่ะ 1 ครั้ง ซึ่งอาศัยน้ำฝน และใช้แรงงานควายและแรงงานคนเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่ทำไร่ ทำเฉพาะนาพอให้ได้ข้าวเก็บไว้กิน มีการปลูกพริก แตง ฟักทอง และพืชผักอื่นๆ หลังจากฤดูทำนา

    การทำนาในปัจจุบัน

          ในปัจจุบัน เกษตรกรเริ่มเกิดความดินรนในการทำมาหากินมาขึ้น จากการทำนาเพื่อได้ข้าวไว้กิน ดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตเพราะค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อนรถมอเตอร์ไซต์ ค่าผ่อนรถไถเดินตาม หรือรถบรรทุกปิ๊คอัพเข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในครอบครัว เกษตรกรที่ยังทำอาชีพเกษตรอยู่เริ่มขนขวายหารายได้เพิ่มจากการทำไร่ หรือจากการออกไปรับจ้างเป็นลูกจ้างในเมืองมากขึ้น   ดังนั้นการทำนาในปัจจุบันจึงอาศัยเทคโนโลยีเครื่องทุนแรงมากกว่าแรงงานจากคนและควาย ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนมากกว่าแต่ก่อน

  • การเลือกพันธุ์ข้าว

    – พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ในไทยที่นิยมปลูก(ไวต่อช่วงแสง)

    1. ข้าวเหนียว กข 6
    2. ข้าวเหนียว กข 8
    3. ข้าวเจ้าขาวดอกมะลิ 105
    4. ข้าวเจ้ากข 15
    5. ข้าวเจ้า กข 27
    6. ข้าวเจ้า กข 5

    – พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ในไทยที่นิยมปลูก(ไม่ไวต่อช่วงแสง)

    1. ข้าวเหนียวสันป่าตอง
    2. ข้าวเหนียวสกลนคร
    3. ข้าวเหนียว กข 10
    4. ข้าวเจ้าพัทลุง
    5. ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 90
    6. ข้าวเจ้าปทุมธานี 1

    การเลือกพันธุ์ข้าวตามภูมิภาค/สภาพอากาศ

    ภาคกลาง
    1. ข้าวเจ้า กข 5(พื้นที่ชลประทาน)
    2. ข้าวเจ้า กข 27
    3. ข้าวเจ้า กข 35(รังสิต80)
    4. ข้าวเจ้านางมล เอส-4
    5. ข้าวเจ้าขาวตาแห้ง-17
    6. ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 90
    7. ข้าวเจ้าปทุมธานี 1
    ภาคเหนือ
    1. ข้าวเจ้า กข 5(พื้นที่ชลประทาน)
    2. ข้าวเจ้าหอมขาวดอกมะลิ 105
    3. ข้าวเจ้าหอมพิษนุโลก 1
    4. ข้าวเหนียว กข 6
    5. ข้าวเหนียว กข 14
    6. ข้าวเหนียว กข 4
    7. ข้าวเหนียว กข 10
    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    1. ข้าวเจ้า กข 5(พื้นที่ชลประทาน)
    2. ข้าวเจ้า กข 15
    3. ข้าวเจ้าหอมขาวดอกมะลิ 105
    4. ข้าวเหนียว กข 6
    5. ข้าวเหนียว กข 8
    6. ข้าวเหนียว กข 4
    7. ข้าวเหนียว กข 10
    ภาคใต้
    1. ข้าวเจ้า กข 5(พื้นที่ชลประทาน)
    2. ข้าวเจ้า กข 13
    3. ข้าวเจ้า กข 37
    4. ข้าวเจ้าพวงไร่ 2
    5. ข้าวเจ้าพัทลุง
    6. ข้าวเจ้าเฉี้ยงพัทลุง
    7. ข้าวเหนียวเหนียวดำช่อไม้ไผ่

    แหล่งที่มาข้อมูล  http://www.brrd.in.th/rkb/varieties/index.php.htm

  • การเตรียมดิน

    รอบรู้เรื่องดินก่อนปลูกข้าว

    การเตรียมดินสำหรับการทำนา ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่ ตลอดจนแบบวิธีการทำนา และเครื่องมือการเตรียมดินที่แตกต่างกัน การเตรียมดินแยกได้เป็น 2 ขั้นตอนคือ

    1. การไถดะ และไถแปร
         การไถดะ คือ การไถพลิกหน้าดินครั้งแรกเพื่อกำจัดวัชพืชและตากดินให้แห้งเป็นการไถตามแนวยาว
    ของพื้นที่นา เพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจน
        การไถแปร คือการไถครั้งที่สองโดยไถขวางแนวไถดะเพื่อย่อยดินและคลุกเคล้าฟาง
    วัชพืช ฯลฯ ลงไปในดินการไถ ไถด้วยแรงงานสัตว์ เช่น วัว ควาย รถไถเดินตาม รถแทรกเตอร์

    2. การคราดหรือใช้ลูกทุบ
       การคราดหรือใช้ลูกทุบ คือ การกำจัดวัชพืช ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว
    และเป็นเทือกพร้อมที่จะปักดำได้ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ทำต่อจากขั้นตอนที่ 1
    และขังน้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ดินมีสภาพที่เหมาะสมในการคราด

  • วิธีเพาะปลูก

        นาดำ เป็นวิธีการทำนาที่มีการนำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงที่เตรียมไว้(แปลงกล้า)
    ให้งอกเป็นต้นกล้า แล้วถอนต้นกล้าไปปักดำในกระทงนาที่เตรียมไว้
    และมีการดูแลรักษาจนให้ผลผลิต การทำนาดำนิยมในพื้นที่ที่มีแรงงานเพียงพอ
        การตกกล้า หมายถึง การเอาเมล็ดไปหว่านให้งอกและเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นต้นกล้า
    เพื่อเอาไปปักดำ การเตรียมต้นกล้าให้ได้ต้นที่แข็งแรงเมื่อนำไปปักดำก็จะได้ข้าว
    ที่เจริญเติบโตได้รวดเร็วและมีโอกาสให้ผลผลิตสูง

    การเพาะเมล็ด

    • การแช่และหุ้มเมล็ดพันธุ์ นำเมล็ดข้าวที่ได้เตรียมไว้บรรจุในภาชนะ เช่น ตะกร้าไม้ไผ่สานกระสอบป่าน หรือถุงผ้าไปแช่ในน้ำสะอาดนานประมาณ 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ ขึ้นมาวางบนพื้นที่น้ำไม่ขังและมีการถ่ายเทอากาศดี นำกระสอบป่านชุบน้ำจนชุ่มมาหุ้มเมล็ดพันธุ์ โดยรอบรดน้ำทุกเช้าและเย็นเพื่อรักษาความชุ่มชื้นหุ้มเมล็ดพันธุ์ไว้นานประมาณ 30-48 ชั่วโมง เมล็ดข้าวจะงอกขนาด “ตุ่มตา” (มียอดและรากเล็กน้อยโดยรากจะยาวกว่ายอด) พร้อมที่จะนำไปหว่านได้
    • การเตรียมเมล็ดพันธุ์ต้องเป็นเมล็ดพันธุ์ที่บริสุทธ์ปราศจากสิ่งเจือปนมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง (ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์) ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง

    เมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนแช่น้ำและหุ้มเมล็ดพันธุ์

    เมล็ดข้าวหลังจากแช่และหุ้มแล้วพร้อมที่จะนำไปหว่าน

    • ในการหุ้มเมล็ดพันธุ์นั้นควรวางเมล็ดพันธุ์ไว้ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดโดยตรง และขนาดของกองเมล็ดพันธุ์ต้องไม่โตมากเกินไป หรือบรรจุถุงขนาดใหญ่เกินไปเพื่อไม่ให้เกิด ความร้อนสูงในกองหรือถุงข้าว เพราะถ้าอุณหภูมิสูงเกินไปเมล็ดพันธุ์ข้าวจะตาย ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะข้าวจะงอกเร็วและสม่ำเสมอกันตลอดทั้งกอง

    การตกกล้าในดินเปียก

        เตรียมแปลงกล้า กว้าง 1.5-2 เมตร ยาว 10 20 24 เมตร เว้นช่องระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร
    หากเป็นคนละพันธุ์ ให้เว้น 1 เมตร ปรับระดับหลังแปลงให้สม่ำเสมออย่าให้น้ำท่วมขังปล่อยน้ำแปลงกล้า
    ให้แห้งทำเทือกให้ ราบเรียบสม่ำเสมอ หว่านข้าวงอกลงบนแปลงกล้าให้กระจายทั่วแปลง
    ในอัตรา 50 กรัมต่อตารางเมตรหรือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์แล้วหนึ่งวัน
    สาดน้ำรดให้กระจายทั่วแปลง เพราะหลังหว่านข้าวลงบนแปลงใหม่ๆ ไม่ควรให้น้ำขัง เพราะเมล็ดข้าวจะลอย
    หรือเน่าได้ หลังจากตกกล้าได้ 5-7 วันหรือรากข้าวเริ่มจับดินแลัวจึงค่อยเพิ่มน้ำให้พอเหมาะ

    แปลงกล้าในดินเปียก

    การตกกล้าในดินแห้ง
         การตกกล้าในดินแห้ง ในกรณีที่ชาวนาไม่มีน้ำเพียงพอสำหรับการตกกล้าในดินเปียก ชาวนาอาจทำการตกกล้าบนที่ดินซึ่งไม่มีน้ำขัง ซึ่งจะเป็นแปลงที่ดอนน้ำไม่ท่วม การตกกล้าในดินแห้ง สามารถทำได้ 4 แบบคือ

    • การหว่านข้าวแห้ง หว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงโดยตรง โดยไม่ต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อน ใช้อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการตกกล้าในดินเปียก คือประมาณ 80-90 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วคราดกลบเมล็ดพันธุ์ให้จมดินพอประมาณ อย่าให้จมมากเพราะจะทำให้เมล็ดงอกช้าและโคนกล้าอยู่ลึกทำให้ถอนยาก
    • การตกกล้าใช้กับเครื่องปักดำข้าว เนื่องจากเครื่องปักดำข้าวมีหลากหลายยี่ห้อ และมีกรรมวิธีรายละเอียดแตกต่างกัน การตกกล้าเพื่อใช้กับเครื่องเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะมีคำแนะนำมาพร้อมเครื่อง
    • การตกกล้าแบบกระทุ้งหยอดข้าวแห้งหรือวิธีการซิมกล้า เป็นวิธีการที่เหมาะสมกับสภาพนาดอนอาศัยน้ำฝน โดยการไถพรวนดินให้ดินร่วน เพื่อกำจัดวัชพืชและสะดวกต่อการงอกของเมล็ด จากนั้นใช้ไม้กระทุ้งหยอดเมล็ดลงหลุม แล้วใช้ดินหรือขี้เถ้าแกลบกลบเมล็ดเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหรือแมลงมาคุ้ยเขี่ย หลังจากนั้นจึงถอนกล้าจากแปลงกล้านี้ไปปักดำในแปลงปักดำ ซึ่งคิดเป็นอัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ในการปักดำต่อพื้นที่ 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่
    • การหว่านข้าวงอก เพาะเมล็ดให้งอกขนาดตุ่มตา (วิธีการเพาะเช่นเดียวกับการตกกล้าในดินเปียก) อัตราเมล็ดพันธุ์เช่นเดียวกับการหว่านข้าวแห้ง ควรหว่านตอนบ่ายหรือเย็น หว่านแล้วคราดกลบและรดน้ำให้ชุ่มทันทีหลังการหว่าน

    แปลงกล้า

    การปักดำ
       การปักดำควรทำเป็นแถวเป็นแนวซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพ่นยากำจัดโรคแมลง และยังทำให้ข้าวแต่ละกอมีโอกาสได้รับอาหารและแสงแดดอย่างสม่ำเสมอกัน การปักดำจะมีระยะของต้นกล้าและระยะปักดำนั้นขึ้นกับชนิดและพันธุ์ข้าว ดังนี้

    • พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปรัง เช่น พันธุ์ สุพรรณบุรี1 ชัยนาท1 พิษณุโลก2 สันป่าตอง1 ควรใช้ระยะปักดำระหว่างแถวและระหว่างกอ 20x20 เซนติเมตร หรือ 20x25 เซนติเมตร และควรใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 20-25 วัน
    • พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสงหรือข้าวนาปี เช่น เหลืองประทิว123 ขาวดอกมะลิ105 กข15 กข6 ปทุมธานี60 ควรใช้ระยะปักดำ 25x25 เซนติเมตร และควรใช้กล้าที่มีอายุประมาณ 25-30 วัน
    • ปักดำจับละ 3-5 ต้น ปักดำลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร จะทำให้ข้าวแตกกอใหม่ได้เต็มที่

    การปักดำ

    นาหว่าน

    นาหว่าน เป็นการปลูกข้าวโดยการหว่านเมล็ดลงไปในนาที่เตรียมพื้นที่ไว้แล้วโดยตรง เป็นวิธีการที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากประหยัดแรงงานและเวลา การทำนาหว่าน แบ่งเป็น 2 วิธี คือ

    1. นาหว่านข้าวแห้ง

    • การหว่านสำรวย เป็นการหว่านในสภาพดินแห้ง เนื่องจากฝนยังไม่ตก โดยหลังจากการไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วหว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องคราดกลบ เมล็ดจะตกลงไปอยู่ในระหว่างก้อนดิน เมื่อฝนตกลงมาเมล็ดข้าวจะงอกขึ้นมาเป็นต้น
    • การหว่านหลังขี้ไถ เป็นการหว่านในสภาพที่มีฝนตกลงมาและน้ำเริ่มจะขังในกระทงนา เมื่อไถแปรแล้วก็หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวตามหลังแล้วคราดกลบทันที

    2. นาหว่านข้าวงอก

    • การหว่านหนีน้ำ ทำในนาน้ำฝน เมื่อเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้ว ก็หว่านข้าวที่เพาะจนงอกลงไปในกระทงนาที่มีน้ำขัง
    • นาชลประทาน เมื่อเตรียมดินเป็นเทือกดีแล้วระบายน้ำออกหรือให้เหลือน้ำขังบนผืนนาน้อยที่สุด นำเมล็ดพันธุ์ข้าวที่งอกขนาด “ตุ่มตา” หวานลงไป แล้วควบคุมการให้น้ำ

    นาหยอด

    เป็นวิธีการปลูกข้าวที่อาศัยน้ำฝน โดยหยอดเมล็ดข้าวแห้ง ลงไปในดินเป็นหลุมๆ หรือโรยเป็นแถวแล้วกลบเมล็ดข้าว เมื่อฝนตกลงมาดินมีความชื้นพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอกเป็นต้น การทำนาหยอดนิยมทำในพื้นที่สภาพไร่ หรือนาในเขตที่การกระจายของฝนไม่แน่นอน แบ่งเป็น 2 สภาพ ได้แก่

    • นาหยอดในสภาพไร่ (ข้าวไร่) พื้นที่ส่วนใหญ่มักเป็นที่ลาดชัน เช่น ที่เชิงเขาเป็นต้น ปริมาณน้ำฝนไม่แน่นอน สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถเตรียมดินโดยการไถได้ จึงจำเป็นต้องหยอดข้าวเป็นหลุม

    นาหยอดในสภาพไร่ (ข้าวไร่)

    นาหยอดในสภาพที่ราบสูง

    • นาหยอดในสภาพที่ราบสูง เช่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาหรือหุบเขา การหยอดอาจหยอดเป็นหลุมหรือใช้เครื่องมือหยอด หรือโรยเป็นแถวแล้วคราดกลบ นาหยอดในสภาพนี้ให้ผลผลิตสูงกว่านาหยอดในสภาพไร่มาก
  • การดูแลบำรุง/กำจัดศัตรูพืช

    • ผู้ปลูกจะต้องหมั่นออกไปตรวจดูต้นข้าวที่ปลูกไว้เสมอๆ ในแปลงที่ปลูกข้าวไร่ จะต้องมีการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยและพ่นยาเคมีเพื่อป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูที่อาจเกิดระบาดขึ้นได้
    • ในแปลงกล้าและแปลงปักดำ จะต้องมีการใส่ปุ๋ย มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของต้นข้าวและพ่นยาเคมีป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูข้าว ชาวนาจะต้องหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงปักดำเพราะวัชพืชเป็นตัวที่แย่งปุ๋ยไปจากต้นข้าว
    • พื้นที่นาหว่าน ชาวนาจะต้องกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีพ่น หรือใช้แรงคนถอนทิ้งไป นอกจากนี้จะต้องพ่นสารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลง เนื่องจากพื้นที่นาหว่านมักจะมีระดับน้ำลึกกว่านาดำ ฉะนั้นชาวนาควรใส่ปุ๋ยก่อนที่น้ำจะลึก ยกเว้นในพื้นที่ที่น้ำไม่ลึกมาก ก็ให้ใส่ปุ๋ยแบบนาดำทั่วๆ ไป
  • การเก็บเกี่ยว

    ข้อปฏิบัติก่อนการเก็บเกี่ยวข้าว

    • ตรวจแปลงนาระยะข้าวเริ่มออกรวง หากพบรวงโผล่พ้นจากใบธงประมาณ 80% ของแปลง กำหนดเป็นวันออกดอก
    • 21 วันหลังวันออกดอก ระบายน้ำออกจากแปลงนา
    • 28-30 วัน หลังวันออกดอก กำหนดเป็นวันเก็บเกี่ยว

    ระยะเวลาเก็บเกี่ยว
    ที่เหมาะสม คือ 28-30 วัน หลังข้าวออกดอก การเก็บเกี่ยวในระยะนี้ทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพการสีดี ถ้าเก็บเกี่ยวเร็วหรือช้าเกินไปมีผลต่อคุณภาพเมล็ด คือ

    การเก็บเกี่ยวเร็วเกินไป
    1. เมล็ดข้าวน้ำหนักเบา การสะสมแป้งไม่เต็มที่
    2. ข้าวมีความชื้นสูง ถ้าลดความชื้นล่าช้า ทำให้ข้าวเสื่อมคุณภาพ มีจุลินทรีย์เข้าทำลาย
    3. คุณภาพการสีต่ำได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวต่ำ เมล็ดยังเขียว อ่อน มีข้าวหักและป่น

    การเก็บเกี่ยวช้าเกินไป
    1. สูญเสียผลผลิตข้าว เพราะข้าวแห้งกรอบ ร่วงหล่นในนา
    2. นก หนู และแมลง เข้าทำลาย
    3. คุณภาพการสีต่ำ ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าวต่ำ เพราะเมล็ดกรอบและมีรอยแตกร้าว
    4. กรณีรวงข้าวแช่น้ำ ทำให้เกิดเมล็ดงอก

    วิธีเก็บเกี่ยว

    • เก็บเกี่ยวโดยแรงงานคน: ใช้เวลาในการเก็บเกี่ยวนาน ขาดแคลนแรงงาน และค่าจ้างสูง
    • เก็บเกี่ยวโดยเครื่องเกี่ยวนวด: ใช้เวลาเก็บเกี่ยวเร็ว แต่ข้าวมีความชื้นสูงประมาณ 25-30%
ส่งเสริมเกษตร (songsermkased)
  • 772/5-6 ถ.แจ้งสนิท(บ้านไผ่-บรบือ) ต.ในเมือง อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น 40110
  • 043-306244 , แฟกซ์ 043-306245